ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2018

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมความต้องการ Waterfall step 2

Waterfall Model ขั้นตอนที่ 2 การเก็บรวบรวมความต้องการระบบ หัวข้อก็บอกต้องอธิบายกันดีรึเปล่าครับ คือ ก่อนที่เราจะสร้างระบบหรือซอฟต์แวร์ เราก็ต้องการรู้ก่อนว่าความต้องการที่จะได้ซอฟต์แวร์แบบไหนออกมาให้ตรงความต้องการลูกค้าหรือผู้ใช้งาน งานหลักๆ ของ System Analyst (SA) ในขั้นตอนนี้ คือ หาความต้องการของระบบ โดยจะมีวิธีอยู่หลายๆอย่าง เบื้องต้น การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์   การขอเอกสารของระบบงาน กรณีต้องการเอาระบบงานเดิมที่ทำงานโดยใช้เอกสารเปลี่ยนมาเป็นระบบงานโดยใช้ไอที โดยข้อมูลเบื้องต้นที่ผมได้กล่าวถึงนี้ ซึ่งก็เพียงพอต่อการทราบถึงข้อมูลความต้องการของระบบ ซึ่งในส่วนนี้เป็นอะไรที่สำคัญมากๆ เพราะการที่ SA มีประสบการณ์งานเยอะจะได้เปรียบในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ รวมถึงการตั้งคำถาม การหาข้อมูลเชิงลึกสำคัญที่เกี่ยวกับระบบที่พัฒนา ผมลืมพูดถึงไปนิดเกี่ยวกับของการจัดทำในส่วนของแบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์นั้น ซึ่ง SA ที่ชำนาญและมีประสบการณ์ระบบงานมากๆ นั้น จะมีการใช้คำถามปิด และคำถามเปิด เพื่อให้ได้มาของความต้องการของระบบ คำถามปิด คือ คำถามที่บังคับให้ผู้ตอบ ตอบคำถ

ขั้นตอนวางแผนการทำงาน Waterfall step 1

Waterfall Model ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนการทำงาน กำหนดหัวข้อในการทำงาน โดยส่วนนี้เราจะเน้นหัวข้อสำคัญใหญ่ๆ เท่านั้น กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำงานเบื้องต้น กำหนดระยะเวลาการทำงาน เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะทำงานไปเรื่อยๆ ไม่มีกำหนดเวลาเสร็จ เพราะการใช้ระยะเวลาทำงานยิ่งนานก็ยิ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากรูปด้านบนจะเป็นแผนภาพแกรนท์ (Gantt Chart) จะเป็นแผนผังควบคุมกิจกรรมต่างๆ ให้ทำงานอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งในส่วนนี้ทาง  System Analyst (SA) จะได้รับข้อมูลจากทาง SALE / Project Manager ในเรื่องขอบเขตของระยะเวลาในการทำงานและการส่งมอบงาน เพื่อใช้ในการวางแผน ประชุม กับทีมงานพัฒนาเพื่อกำหนดหัวข้อ ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบ อ่านตอน 2 ได้ที่  https://thaidevnote.blogspot.com/2018/04/waterfall-step-2.html

โคตรโบราณกับการพัฒนาระบบด้วย Waterfall Model

ไหนว่าจะพูดถึงเรื่อง  Software Development Life Cycle (SDLC) ต่อ แล้วไหนถึงกลายเป็น Waterfall Model ละมันคืออะไร แล้วทำไมถึงโบราณ แล้วยังมีใครพัฒนาในรูปแบบนี้กันอยู่เปล่านะ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า Waterfall Model จะเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบโมเดลน้ำตก คือ ทำที่ละขั้นตอนลงมาเรื่อยๆ จนพัฒนาซอฟต์แวร์เสร็จ พูดถึงข้อเสียกันเลย ผู้ใช้ซอฟต์แวร์หรือระบบจะเห็นระบบเมื่อผ่านขั้นตอนการพัฒนาไปแล้ว ทำให้กลับมาแก้ไขได้ลำบากหรือเสียเวลา ถ้าเกิดไม่ตรงตามความต้องการ การพัฒนาในรูปแบบนี้ไม่รองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ อ้าวมีข้อเสียแถมเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์โบราณจะไปสนใจทำไมกันละ แล้วทุกวันนี้ยังมีใช้กันอยู่รึเปล่า ผมสรุปให้เลยว่ามีและประสบความสำเร็จด้วย แต่กับระบบที่ไม่ใหญ่มากและไม่มีความซับซ้อนจนเกิดไป และก็ต้องวางแผนดีๆ ด้วยละ เอาละมาดูกันเลยดีกว่าจากรูปด้านบนจะเห็นว่ามีการทำทีละขั้นตอนลงมาเรื่อยๆ จนติดตั้งใช้งานระบบจริงๆ มาเริ่มกันเลยดีกว่า ขั้นตอนการพัฒนาตามรูปแบบ Waterfall Model ขั้นตอนการวางแผนการทำงาน ขั้นตอนเก็บรวบรวมความต้องการระบบ ขั้นต

Software Development Life Cycle

ตอนที่แล้วพูดถึงเกี่ยวกับงานของ System Analyst แล้วมีคำศัพท์ว่า System Development Lifecycle (SDLC) ไหนๆ ก็มีคำนี้ขึ้นมาก็ขอเขียนถึงสะหน่อย  ก่อนเข้าเรื่อง ผู้เขียน จบมาจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการสารสนเทศคอมพิวเตอร์ มหาลัยเซนต์จอห์น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยบริษัทที่ทำงานอยู่เกี่ยวกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน IT Security ทำไมถึงออกนอกเรื่อง แค่จะบอกว่าจริงๆ สาขาที่ผู้เขียนบทความเรียนเป็นสาขาที่จบออกมาเพื่อมาเป็น System Analyst โดยเฉพาะๆ เลย ด้วยที่ว่าเรียนเกี่ยวกับสายวิชาเกี่ยวกับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีการเงิน ภาษี การตลาด เศรษฐศาตร์ สถิติ และวิชาทางสายไอทีไม่ว่าโปรแกรมมิ่ง ฐานข้อมูล เครือข่าย และวิชาการวิเคราะห์และออกแบบ ซึ่งวิชาการวิเคราะห์และออกแบบนี้และที่จะมาพูดถึง เพราะวิชานี้จะทำให้คุณรู้จักขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือที่เรียกว่า  System Development Lifecycle (SDLC)

System Analyst สำคัญฉะไหน

ถ้าคุณเจอปัญหาเหล่านี้ มาลองให้ความสำคัญกับ System Analyst แล้วจะรู้ว่าคุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับหน้าที่ของ SA โปรเจคที่พัฒนาล้มเหลว โปรเจคที่พัฒนาออกแบบไม่ตรงตามความต้องลูกค้า โปรเจคที่พัฒนาไม่เสร็จตามกำหนดเวลา โปรเจคที่พัฒนาต้นทุนบานปลาย โปรเจคที่พัฒนาเลือกใช้เทคโนโลยีผิด และอื่นๆ อีกมากมายที่ซอฟต์แวร์หรือระบบที่พัฒนาไม่ประสบความสำเร็จ สิ่งที่ System Analyst ต้องมี ประสบการณ์ (เจ้าข้อนี้และที่เข้าใจผิดกันเยอะ) SA ที่ดีต้องเคยเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมมาก่อนหรือก็คือ เป็นโปรแกรมเมอร์มาก่อน SA ที่ดีต้องเคยต้องเคยออกแบบฐานข้อมูล SA ที่ดีต้องเคยวิเคราะห์และออกแบบระบบงานเกี่ยวกับธุรกิจมาเยอะพอสมควร SA ที่ดีต้องเขียนและอธิบายเอกสารได้ ตามหลักสากลนะ รอบรู้  มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ แค่รู้ไม่จำเป็นต้องชำนาญ มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบงานของธุรกิจต่างๆ เป็นอย่างดี เข้าใจขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามหลักการพัฒนา System development Life Cycle (SDLC) เข้าใจขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบอื่นๆ เช่น Agile เป็นต้น รอบคอบและเฉลียวฉลาด ข้อนี้จะเกิดได้ ก็จากสองอันแรก สรุปสิ่งท

ยินดีต้อนรับสู่ Thai Dev Note

กลับมาอีกครั้งจากในอดีต จาก blog เก่า thaidevcafe.blogspot.com โดยผู้เขียนบทความลืมรหัสผ่าน รวมถึงอยากได้ชื่อใหม่ด้วย จากเดิมกะจะทำจาก facebook page แต่รู้สึกว่ามันเขียนบทความได้ไม่ค่อยสะดวก เลยพยายามหาและสรุปมาได้ทั้ง blogger, medium เทียบกันแล้ว รู้สึกชอบของทาง blogger มากกว่า เลยเป็นการกลับมาใช้อีกครั้ง ฝากติดตามผลงานกันด้วยนะครับ รับประกันบทความมีประโยชน์ต่อผู้มาติดตามแน่นอนครับ